วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายศาสนา กับการห้ามขายเหล้า และ อัล คาโปน


Prohibition กรณีศึกษาเรื่องกฎหมายศาสนากับการห้ามขายเหล้า

กฎหมายศาสนามักมีลักษณะที่เอามาตรฐานทางจริยธรรมที่ดีเลิศของบุคคลมาออกเป็นกฎบังคับให้ทุกคนในสังคมเป็นได้เหมือนกันหมด แล้วเชื่อว่าจะทำให้สังคมดี แต่ในความเป็นจริงกลับพบปัญหาตามมาอย่างคาดไม่ถึง ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐเคยออกกฎหมายห้ามขายเหล้าอย่างเด็ดขาด ในช่วงต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ

ในเวลานั้น สหรัฐมีกระแสการปฏิรูปทาง “จริยธรรม” ซึ่งคือต้นกำเนิดของแนวความคิดห้ามผลิตและซื้อขายสุราในสหรัฐ หรือที่เรียกกันว่า Prohibition (การห้ามในเรื่องต่างๆ)

Prohibition คึือขบวนการทางสังคมของคนกลุ่ม “จารีตนิยม” ในสหรัฐฯที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 1840 เรื่อยมา คนกลุ่มนี้เชื่อว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็น “บาปส่วนตัว” ที่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง หลายคนเชื่อว่าสุราคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานหรือชนชั้นล่างต้องตกอยู่ในวงวนของความยากจน ความรุนแรง และปัญหาอาชญกรรมที่ไม่จบสิ้น หลายคนเชื่อว่าสุราคือต้นเหตุของปัญหามากมายในสังคม ทั้งการเสพติดสุรา อาชญากรรม อาการทางจิตประสาท ความยากจน ความรุนแรงในเด็กและสตรี


การเคลื่อนไหวกดดันทางการเมืองของผู้สนับสนุน Prohibition แพร่หลายอย่างกว้างขวางพร้อมกับประเด็นทางการเมืองอื่น เช่น การเรียกร้องสิทธิสตรี ซึ่งนำมาสู่ความคิดที่ว่าการที่ (ยอมให้) ผู้ชายกินเหล้า มักเป็นสาเหตุของความรุนแรงและความเดือดร้อนอื่นๆที่เกิดขึ้นกับภรรยา (ผู้เป็นสตรี) ซึ่งท้ายสุดแล้ว แรงกดดันทางการเมืองของความคิด Prohibition ก็ทำให้เกิดการ “ปฏิรูป” โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

วันที่ 16 มกราคม 1919 เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 18 กำหนดห้ามไม่ให้มีการขาย ผลิต ขนส่ง หรือจัดจำหน่ายเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทั่วทั้งประเทศ

แต่การณ์ดังกล่าวแทนที่จะส่งผลดีกลับกลายเป็นทำให้เกิดยุคของเจ้าพ่อ อัล คาโปน เจ้าพ่อเหล้าเถื่อน และธุรกิจผิดกฎหมายอื่นๆ รายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ

ท้ายที่สุด บุคคลสำคัญหลายคนผู้เคยสนับสนุนความคิด Prohibition ได้ออกมายอมรับต่อสาธารณะชนว่าความคิด “ห้ามบริโภคสุรา” ของตนเองนั้นเป็นความผิดพลาด ตัวอย่างเช่น จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ จูเนียร์ มหาเศรษฐีผู้ไม่เคยดื่มสุราเลยทั้งชีวิต และเป็นผู้สนับสนุนเงินมหาศาลให้กับขบวนการ Prohibition ได้ออกมากล่าวยอมรับต่อสาธารณะชนว่ามีปัญหาสังคมมากมายเกิดขึ้นจาก Prohibition โดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน เขาประกาศ “กลับใจ” มาสนับสนุนให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิก Prohibition ในเวลาต่อมา ดังเห็นได้จากส่วนหนึ่งของจดหมายที่เขาเขียนขึ้นในปี 1932 ใจความว่า;

“เมื่อมีเริ่มมีแนวคิดการห้ามบริโภคสุราเกิดขึ้น ผมหวังว่ามันจะได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากสาธารณะชน แล้ววันที่ผู้คนจะสำนึกถึงผลร้ายของแอลกอฮอล์ก็จะมาถึงโดยเร็ว แต่ผมกลับค่อยๆได้เรียนรู้ว่านั่นไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกัน การดื่มสุรากลับเพิ่มมากขึ้น โรงเหล้าเถื่อนเกิดขึ้นแทนที่ผับบาร์ กองทัพอันใหญ่โตของคนนอกกฏหมายกำเนิดขึ้น พลเมืองที่เป็นคนดีเยี่ยมของสังคมเราหลายคนประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าไม่สนใจกฏหมาย (ห้ามบริโภคสุรา) ฉบับนี้ กฏหมายไม่ได้รับความเคารพจากผู้คนเหมือนเคย และอาชญกรรมกลับเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน”

ในที่สุดกระบวนการ Prohibition ก็สิ้นสุดลงด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 21 ในปี 1933

เกิดอะไรขึ้นเมื่อสหรัฐห้ามขายเหล้าทั่วประเทศ?

July 10, 2013 · , สุรา
อัลฟองโซ เกเบรียล อัล คาโปน - คือชื่อเต็มของ “อัล คาโปน” มาเฟียอเมริกันที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ เรื่องราวประวัติชีวิตของ อัล คาโปน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อมตะชื่อ Scarface (1932) ตามชื่อ “ไอ้หน้าบาก” ซึ่งเป็นชื่อเล่นในของเขา และเรื่องราวการไล่ล่าตามจับกุมเขามาลงโทษ ก็ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Untouchable (1987)

ภาพจาก www.privacysurgeon.org
แม้ท้ายสุดแล้วเขากลายเป็นนักโทษในเรือนจำ “อัลคาทราซ” ตั้งแต่ปี 1932 แต่เรื่องราวชีวิตของ อัล คาโปน กลับมีอิทธิพลต่อเนื่องมาตลอด เขาเป็นมาเฟีย “เซเลบ” (Celebrity) คนดังที่สาธารณะชนให้ความสนใจ เกร็ดชีวิตของเขากลายเป็นเรื่องราวในบทความ หนังสือ หรือนวนิยายมากมาย แม้กระทั่งบุคลิก อุปนิสัยส่วนตัว รูปร่าง หรือกระทั่งรสนิยมการแต่งกาย ก็ยังกลายเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้กับแวดวงภาพยนตร์ การ์ตูน หรือกระทั่งวรรณร่วมสมัยอยู่ทุกครั้งเมื่อมีการพูดถึง “มาเฟีย”
เราถูกทำให้เชื่อราวกับว่ามาเฟียอิตาเลียน-อเมริกันทุกคน มีบุคลิก การแต่งกาย นิสัย สำเนียงพูด เหมือน อัล คาโปน หมดทุกคน จนอาจกล่าวได้ว่า อัล คาโปน ได้กลายเป็นไอคอน (Icon) ของวัฒนธรรมสาธารณะ (Pop Culture) ในอเมริกาไปเสียแล้ว ล่าสุด เรื่องราวมาเฟียชิคาโกในแบบฉบับ “อัล คาโปน” ที่พวกเราได้เห็นกัน ก็อยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Bat Man: The Dark Knight
อัล คาโปน โด่งดังในฐานะหัวหน้ามาเฟียผู้สามารถควบคุมเมืองใหญ่อย่าง “ชิคาโก” ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นอกจากนั้นยังแผ่ขยายอำนาจกว้างไกลไปถึงเมืองในฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ในสมัยนั้นอาจเรียก อัล คาโปน ได้ว่าเป็น “ผู้มีบารมีนอกกฏหมาย” ตัวจริง – ชนิดที่ไม่ต้องให้ใครโฟนอินมายืนยัน
เส้นทางชีวิตสายมาเฟียของ อัล คาโปน เริ่มต้นที่บ้านเกิดในกรุงนิวยอร์ก เขาไต่เต้าจากมาเฟียระดับหางแถวขึ้นมาจนสามารถลืมตาอ้าปาก สร้างฐานะ และมีครอบครัวของตนเองได้ จนเมื่ออายุ 22 ปีเขาตัดสินใจพาครอบครัวย้ายไปอยู่แถบชานเมืองชิคาโกตามคำชักชวนของเจ้านาย เพื่อแสวงหา “โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ”เกี่ยวกับการขายสินค้าผิดกฏหมาย
เลือด ปืน ฆาตกรรม และความรุนแรง – ชีิวิตของคาโปนในชิคาโกไม่ต่างจากสูตรแนวทางชีวิตของมาเฟียที่เราคุ้นเคย หลังจากย้ายเข้ามาชิคาโกเพียง 3 ปี เมื่อเจ้านายเก่าตัดสินใจย้ายกลับอิตาลี เขาเข้ารับช่วงต่อและใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีจากนั้นขยายอาณาจักรมาเฟียจนยิ่งใหญ่คับเมือง
อาณาจักรมาเฟียอันยิ่งใหญ่ของ อัล คาโปน มีฐานจากธุรกิจผิดกฏหมายอันหลากหลาย ว่ากันว่าในช่วงเฟื่องฟู (1925-1930) เขามีรายได้กว่า 100 ล้านเหรียญ ต่อปี ซึ่งนับว่ามหาศาลมากในยุคนั้น และมากพอที่ทำให้เขามีเงิน “เลี้ยงดู ปูเสื่อ” เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องการ เพราะแท็กติกสำคัญที่ อัล คาโปน (และผู้มีบารมีแทบทุกคนในโลก) นิยมใช้ในการต่อสู้กับกฏหมายเพื่อแผ่ขยายอำนาจมืดของตนคือการ “ติดสินบน”
เครือข่ายผลประโยชน์ของ อัล คาโปน แพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุคที่เขาเรืองอำนาจ เจ้าหน้าที่แทบทุกคนในเมืองชิคาโกล้วนเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของเขาไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นตำรวจชั้นผู้น้อย ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นักการเมืองทุกระดับชั้น ผู้พิพากษา หรือกระทั่งนายกเทศมนตรี แทบทุกคนกลายสภาพเป็น  “คนของคาโปน” กันทั้งนั้น คล้ายกับ “ระบอบ …” อะไรบางอย่างที่พบในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ ในอีก 70 กว่าปีต่อมา
แม้ “พอร์ต” ธุรกิจของ อัล คาโปน จะมีมากมายกระจายความเสี่ยงไปทั่วตั้งแต่การพนัน โสเภณี ไปจนถึงการตามทวงหนี้ แต่แหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อาณาจักรมาเฟียของเขาเติบโตขึ้นมาได้นั้นคือ “การค้าเหล้าเถื่อน”

ย้อนกลับไป 10 ปีก่อนที่เด็กชาย อัล คาโปน จะถือกำเนิดที่กรุงนิวยอร์ก สังคมสหรัฐในช่วงปี 1890-1920 อยู่ช่วงที่เรียกกันว่า “ยุคก้าวหน้า” (Progressive Era) สังคมสหรัฐในยุคนี้กำลังพบกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆมากมายทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม มีการ “ปฏิรูป” (Reform) ที่สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น การปฏิรูประบบภาษี การเลือกตั้งวุฒิสภาโดยตรง สิทธิทางการเมืองของสตรี
และหนึ่งในการปฏิรูปที่สำคัญคือการปฏิรูปทาง “จริยธรรม” ซึ่งคือต้นกำเนิดของแนวความคิดห้ามผลิตและซื้อขายสุราในสหรัฐ หรือที่เรียกกันว่า Prohibition
Prohibition คึือขบวนการทางสังคมของคนกลุ่ม “จารีตนิยม” ในสหรัฐฯที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 1840 เรื่อยมา คนกลุ่มนี้เชื่อว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเป็น  “บาปส่วนตัว” (Personal Sin) ที่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง หลายคนเชื่อว่าสุราคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานหรือชนชั้นล่างต้องตกอยู่ในวงวนของความยากจน ความรุนแรง และปัญหาอาชญกรรมที่ไม่จบสิ้น หลายคนเชื่อว่าสุราคือต้นเหตุของปัญหามากมายในสังคม ทั้งการเสพติดสุรา อาชญากรรม อาการทางจิตประสาท ความยากจน ความรุนแรงในเด็กและสตรี
นอกจากนั้น ความคิดห้ามขายสุรายังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ผลิตชาและน้ำอัดลมซึ่งเชื่อว่าธุรกิจของตนจะได้รับผลประโยชน์มหาศาล หากเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ทุกชนิดหมดไปจากสหรัฐฯอีกด้วย
การเคลื่อนไหวกดดันทางการเมืองของผู้สนับสนุน Prohibition แพร่หลายอย่างกว้างขวางพร้อมกับประเด็นทางการเมืองอื่น เช่น การเรียกร้องสิทธิสตรี ซึ่งนำมาสู่ความคิดที่ว่าการที่ (ยอมให้) ผู้ชายกินเหล้า มักเป็นสาเหตุของความรุนแรงและความเดือดร้อนอื่นๆที่เกิดขึ้นกับภรรยา (ผู้เป็นสตรี) ซึ่งท้ายสุดแล้ว แรงกดดันทางการเมืองของความคิด Prohibition ก็ทำให้เกิดการ “ปฏิรูป” โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
วันที่ 16 มกราคม 1919 – การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 18 (Eighteenth Amendment) กำหนดห้ามไม่ให้มีการขาย ผลิต ขนส่ง หรือจัดจำหน่ายเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทั่วทั้งประเทศ
9 เดือนหลังจากนั้น สภาคองเกรสได้ผ่านร่างกฏหมาย (ประกอบรัฐธรรมนูญที่แก้ไขไปแล้ว) ที่รู้จักกันในชื่อVolstead Act โดยใช้อำนาจเหนือสิทธิคัดค้าน (Veto) ของประธานาธิบดี วู้ดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson)กฏหมายฉบับนี้นับเป็นการเริ่มต้นยุคสมัยของการห้ามซื้อขายและผลิตเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 มกราคม 1920 – สองปีก่อนที่ อัล คาโปน จะตัดสินใจย้ายไป หา“โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ” ที่ชิคาโก
แม้จะมีผู้สนับสนุนในสังคมมากพอถึงขั้นที่สภาคองเกรสสามารถให้อำนาจเหนือสิทธิคัดค้านของประธานาธิบดีได้ แต่การ  “บังคับใช้” กฏหมาย Prohibition กลับไม่สามารถทำได้สำเร็จในทางปฏิบัติและกลับสร้างปัญหาสังคมอื่นๆตามมาอีกมาก จนกลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมสหรัฐในวงกว้าง
ในเวลานั้น ทุกประเทศรอบสหรัฐ (แคนาดา แม็กซิโก และประเทศในหมู่เกาะคาริบเบียน) สามารถผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างถูกกฏหมาย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากอานิสงของพลเมืองสหรัฐที่เดินทางเข้ามา “บริโภคแอลกอฮอล์” ภายในประเทศ และจากการผลิตเพื่อ ส่งเข้าประเทศสหรัฐอย่างผิดกฏหมาย
“ลักลอบนำเข้าเหล้าเถื่อน” นี่เองที่เป็น “โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ” ในสายตาของชายหนุ่มวัย 22 ปีที่ชื่อ อัล คาโปน
แม้ “มาเฟีย” จะถือกำเนิดขึ้นในสังคมอเมริกันก่อนช่วงเวลา Prohibition หลายสิบปี แต่กิจกรรมนอกกฏหมายของแก๊งมาเฟียในช่วงแรกมักมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการพนัน ข่มขู่กรรโชกทรัพย์ หรือการจี้ปล้นเท่านั้น
จนกระทั่งเมื่อสหรัฐเข้าสู่ยุค Prohibition ในปี 1920 การลักลอบขาย “เหล้าเถื่อน” กลายเป็นช่องทางที่สามารถทำกำไรมหาศาลให้กับเหล่าผู้มีบารมีนอกกฏหมาย จำนวนประชากรมาเฟียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขาแผ่ขยายอาณาเขตออกไปยังหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ความรุนแรง อาชญากรรม และปัญหาสังคมอีกมากมายเกิดตามมาเป็นลูกโซ่
และเมื่อเป็นของเถื่อน ทำให้สุราชนิด “แรงพิเศษ” กลับได้รับความนิยมแพร่หลายในสังคมมากขึ้นกว่าเดิมเพราะมันสามารถทำ “กำไร” ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการลักลอบขนส่งหนึ่งครั้ง ผลลัพธ์คือนักดื่มเมาหนักขึ้น สุขภาพก็เสื่อมโทรมเร็วกว่าแต่ก่อน
นอกจากจะเป็นช่องทางทำเงินให้กับเหล่ามาเฟียแล้ว เหล้าเถื่อนยังเป็นช่องทาง “ทำเงินนอกระบบ” ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย ทำให้ต้นทุนที่รัฐบาลสหรัฐต้อง  “จ่าย” เพื่อบังคับใช้กฏหมายห้ามขายเหล้านั้นสูงกว่าปกติมาก เช่น ต้องจ้างคนที่เก่งขึ้น จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยมากขึ้น ตั้งหน่วยสอบสวนพิเศษมากมาย ตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในองค์กร จัดซื้ออาวุธที่มากขึ้น ฯลฯ  ในขณะที่รายรับจากภาษีสุราหดหายไป (ประเมินกันว่ารายได้จากภาษีหายไปถึงปีละกว่า 500 ล้านเหรียญ)
หลักฐานความเกี่ยวพันกันระหว่าง Prohibition กับมาเฟียปรากฏชัดเมื่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิก Prohibition เกิดขึ้นในปี 1933 รายได้ขององค์กรมาเฟียทั่วประเทศหดหายไปเกือบหมด เพราะกำไรมหาศาลที่ได้จากการขายเหล้าเถื่อนได้หมดไป พร้อมกับการวางขายสุราถูกกฏหมายในราคาถูกที่หาซื้อได้ตามร้านค้าบนท้องถนน
แม้จะมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้จำนวนมาเฟียลดลงในภายหลัง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการหดหายไปของ  “กำไรมหาศาล” จากการค้าเหล้าเถื่อน ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งอย่างแน่นอน
บุคคลสำคัญหลายคนผู้เคยสนับสนุนความคิด Prohibition ได้ออกมายอมรับต่อสาธารณะชนว่าความคิด “ห้ามบริโภคสุรา” ของตนเองนั้นเป็นความผิดพลาด
จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ จูเนียร์ (John D. Rockefeller, Jr.) มหาเศรษฐีผู้ไม่เคยดื่มสุราเลยทั้งชีวิต และเป็นผู้สนับสนุนเงินมหาศาลให้กับขบวนการ Prohibition ได้ออกมากล่าวยอมรับต่อสาธารณะชนว่ามีปัญหาสังคมมากมายเกิดขึ้นจาก Prohibition โดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน เขาประกาศ “กลับใจ” มาสนับสนุนให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิก Prohibition ในเวลาต่อมา ดังเห็นได้จากส่วนหนึ่งของจดหมายที่เขาเขียนขึ้นในปี 1932 ใจความว่า;
“เมื่อมีเริ่มมีแนวคิดการห้ามบริโภคสุราเกิดขึ้น ผมหวังว่ามันจะได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากสาธารณะชน แล้ววันที่ผู้คนจะสำนึกถึงผลร้ายของแอลกอฮอล์ก็จะมาถึงโดยเร็ว แต่ผมกลับค่อยๆได้เรียนรู้ว่านั่นไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกัน การดื่มสุรากลับเพิ่มมากขึ้น โรงเหล้าเถื่อนเกิดขึ้นแทนที่ผับบาร์ กองทัพอันใหญ่โตของคนนอกกฏหมายกำเนิดขึ้น พลเมืองที่เป็นคนดีเยี่ยมของสังคมเราหลายคนประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าไม่สนใจกฏหมาย  (ห้ามบริโภคสุรา) ฉบับนี้ กฏหมายไม่ได้รับความเคารพจากผู้คนเหมือนเคย และอาชญกรรมกลับเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน”
When Prohibition was introduced, I hoped that it would be widely supported by public opinion and the day would soon come when the evil effects of alcohol would be recognized. I have slowly and reluctantly come to believe that this has not been the result. Instead, drinking has generally increased; the speakeasy has replaced the saloon; a vast army of lawbreakers has appeared; many of our best citizens have openly ignored Prohibition; respect for the law has been greatly lessened; and crime has increased to a level never seen before
ด้วยเหตุวุ่นวายและ “รายจ่ายทางสังคม” มากมายนี้ ทำให้กระบวนการ Prohibition สิ้นสุดลงด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 21 ในปี 1933 (Repeal) นับเป็นการสิ้นสุดยุค Prohibition ในสหรัฐอย่างเป็นทางการ
ประธานาธิบดี แฟรงก์คลิน รูสเวลท์ (Franklin Roosevelt) ได้กล่าวติดตลกในวันลงนามว่า
“ผมคิดว่านี่เป็นเวลาที่ดีสำหรับเบียร์สักขวด”
I think this would be a good time for a beer.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น